IAMS TH
Nutritional Needs of Pregnant and Nursing Dogs
Nutritional Needs of Pregnant and Nursing Dogs

adp_description_block264
การดูแลสุนัขตั้งท้อง

ความต้องการทางโภชนาการของสุนัขตั้งท้องและสุนัขช่วงให้นมลูก

  • แบ่งปัน

ช่วงที่สุนัขตั้งท้องและช่วงที่สุนัขให้นมลูกการเปลี่ยนแปลงไม่ได้เกิดขึ้นเฉพาะกับการกายของพวกเขาเท่านั้น แต่การดำเนินชีวิตของสุนัขเองก็เปลี่ยนไปด้วย หากสุนัขของคุณกำลังอยู่ในช่วงตั้งท้องหรืออยู่ในช่วงให้นมลูก เจ้าของควรให้การเอาใจใส่ดูแลเป็นพิเศษกับความต้องการทางโภชนาการที่เปลี่ยนแปลงของสุนัขตั้งแต่ช่วงที่ตั้งท้อง คลอด และให้นมลูก

โภชนาการและการควบคุมน้ำหนักตัวเป็นเรื่องสำคัญมากสำหรับสุขภาพของแม่สุนัขที่กำลังตั้งท้อง แม้ว่าแม่สุนัขไม่จำเป็นต้องพบสัตวแพทย์บ่อยเหมือนกับคนเรา แต่เจ้าของก็ควรปรึกษาคุณหมอเพื่อขอคำแนะนำเกี่ยวกับวิธีดูแลสุนัขตั้งท้องอย่างเหมาะสม โดยเฉพาะการป้องกันปัญหาปรสิตทั้งภายในและภายนอกร่างกาย เนื่องจากเป็นอันตรายต่อสุขภาพของแม่สุนัขและลูกตัวน้อย

 

แน่นอนว่าการตั้งท้องเป็นเรื่องที่น่ายินดี แต่ในขณะเดียวกันการดูแลสุนัขตั้งท้องก็เป็นเรื่องละเอียดอ่อนที่ต้องระมัดระวังเป็นอย่างมาก ยิ่งในช่วงสัปดาห์แรกของการตั้งท้อง เจ้าของจำเป็นต้องดูแลพวกเค้าอย่างใกล้ชิด

 

โดยอาการเหล่านี้คืออาการที่บ่งบอกว่าสุนัขของคุณกำลังตั้งท้อง – 

 

สัญญาณบ่งบอกการตั้งท้องของสุนัข

ทำกิจกรรมน้อยลง

น้องหมาตั้งท้องมักจะเหนื่อยง่ายและนอนหลับมากขึ้น ทั้งนี้อาจเป็นเรื่องยากที่จะสังเกตเห็นความเปลี่ยนแปลงในน้องหมาที่ชอบพักผ่อนมากกว่าทำกิจกรรม ในกรณีนี้ให้สังเกตเวลาพวกเค้าเดินว่าเหนื่อยง่ายหรือเหนื่อยเร็วกว่าปกติหรือไม่แทน

 

แสดงพฤติกรรมแปลก ๆ 

พฤติกรรมบางอย่างของน้องหมาตั้งท้องอาจเปลี่ยนแปลงไป เช่น ต้องการความสนใจจากเจ้าของมากขึ้น อยากอยู่ด้วย เข้าหาบ่อยขึ้น แต่บางครั้งพวกเค้าก็ต้องการพื้นที่ส่วนตัว หากถูกรบกวนก็อาจแสดงท่าทางไม่พอใจหรือหงุดหงิดใส่ได้

 

การกินอาหารผิดปกติ

การกินอาหารผิดปกติเป็นอีกหนึ่งอาการที่พบได้ในสุนัขตั้งท้อง โดยแม่สุนัขบางตัวอาจกินอาหารน้อยลง มีอาการอาเจียนเป็นครั้งคราวในช่วงแรกหรือในช่วงระหว่างการตั้งท้อง แต่บางตัวก็อาจกินอาหารมากกว่าปกติ และไม่พอใจกับมื้ออาหารทั่วไป ความผิดปกติเหล่านี้เกิดจากการเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมนในร่างกาย

 

น้ำหนักเพิ่มขึ้นและหน้าท้องขยายใหญ่ขึ้น

ความเปลี่ยนแปลงที่เห็นได้อย่างชัดเจนในการตั้งท้องของสุนัขคือหน้าท้องขยายใหญ่ขึ้น อย่างไรก็ตามการขยายตัวของหน้าท้องไม่ได้เกิดขึ้นในทันที แต่จะเริ่มสังเกตเห็นได้ในช่วงปลายของการตั้งท้องแล้ว หากพบว่าหน้าท้องของพวกเค้าใหญ่ขึ้น แนะนำให้รีบพาไปพบสัตวแพทย์ในทันที

 

การดูแลโภชนาการสำหรับแม่สุนัขตั้งท้อง

น้องหมาตั้งท้องจำเป็นต้องได้รับสารอาหารที่ครบถ้วนและสมดุลในปริมาณที่เหมาะสม รวมถึงควรได้รับการดูแลอย่างใกล้ชิด โดยเฉพาะในเวลาให้อาหาร

ความต้องการพลังงานของน้องหมาตั้งท้องจะสูงขึ้นตามน้ำหนักตัวที่เพิ่มมากขึ้น สัตวแพทย์อาจแนะนำสูตรอาหารที่ให้พลังงานสูง รวมถึงมีไขมัน คาร์โบไฮเดรต และโปรตีนในปริมาณที่เหมาะสม นอกจากสูตรอาหารที่ต้องเลือกอย่างดีแล้ว การกำหนดปริมาณอาหารให้เพียงพอก็เป็นสิ่งสำคัญเช่นกัน หากให้ปริมาณมากไปก็อาจทำให้แม่สุนัขมีน้ำหนักเกินได้

ระยะเวลาตั้งท้องของสุนัขอยู่ที่ประมาณ 9 สัปดาห์ ในช่วงสัปดาห์ที่ 6 และ 7 ควรดูแลสุนัขตั้งท้องให้ได้รับปริมาณอาหารที่ไม่มากจนเกินไป และควรเปลี่ยนมาให้อาหารสูตรลูกสุนัข เนื่องจากมีพลังงานและสารอาหารมากกว่าสูตรทั่วไป ช่วยให้แม่สุนัขแข็งแรง ได้รับสารอาหารที่จำเป็นอย่างครบถ้วน และพร้อมสำหรับการให้นมลูกตัวน้อย เมื่อเริ่มเข้าสู่สัปดาห์ที่ 9 แม่สุนัขจะอยากอาหารน้อยลง ซึ่งเป็นสัญญาณเตือนว่าพวกเค้าใกล้คลอดเจ้าตัวน้อยออกมาแล้ว

สำหรับแม่สุนัขที่อยู่ในช่วงตั้งท้องและช่วงให้นมลูก การเปลี่ยนแปลงไม่ได้เกิดขึ้นแค่กับสภาพร่างกายเท่านั้น แต่การใช้ชีวิตและความต้องการทางโภชนาการของพวกเค้าก็เปลี่ยนแปลงไปด้วย การดูแลสุนัขตั้งท้องอย่างใกล้ชิดจึงเป็นสิ่งสำคัญมาก

 

พัฒนาการรายสัปดาห์ของแม่สุนัขตั้งท้อง

 

 

สัปดาห์ที่ 1 และ 2

  • มีการผสมพันธุ์
  • เกิดการปฏิสนธิ
  • ไข่เข้าสู่ระยะฝังตัว
 

สัปดาห์ที่ 3 และ 4

  • เอ็มบริโอเริ่มพัฒนา
  • มีการเจริญของไขสันหลัง
  • ตัวอ่อนหรือฟีตัสเติบโตขึ้น เริ่มสังเกตเห็นใบหน้า

สัปดาห์ที่ 5 และ 6

  • เข้าสู่ขบวนการสร้างอวัยวะ
  • มีพัฒนาการของแขนขา ดวงตา และอวัยวะอื่น ๆ

สัปดาห์ที่ 7 และ 8

  • การเจริญเติบโตและพัฒนาการของลูกสุนัขเป็นไปอย่างต่อเนื่อง
  • เริ่มเคลื่อนตัวไปมาในช่องท้อง

สัปดาห์ที่ 9

  • การเจริญเติบโตและพัฒนาการสมบูรณ์
  • เข้าสู่ช่วงใกล้คลอด

 

แม่สุนัขจำเป็นต้องฉีดวัคซีนใดบ้าง?

 

ก่อนการตั้งท้องของสุนัข:

ก่อนการตั้งท้องของสุนัข เจ้าของควรวางแผน ประเมินสุขภาพร่างกาย และปรึกษาสัตวแพทย์เรื่องการฉีดวัคซีนให้เรียบร้อยเสียก่อน

ซึ่งตามแนวทางปฏิบัติเกี่ยวกับการใช้วัคซีนในสุนัขและแมว แนะนำให้ฉีดวัคซีนดังต่อไปนี้:วัคซีนป้องกันโรคไข้หัดสุนัข

วัคซีนป้องกันพาร์โวไวรัส

วัคซีนป้องกันไวรัสตับอักเสบ

วัคซีนป้องกันโรคพิษสุนัขบ้า (เรบีส์)

 

ระหว่างการตั้งท้อง:

หากได้รับการฉีดวัคซีนครบถ้วนตั้งแต่ก่อนตั้งท้องแล้ว ก็ไม่จำเป็นต้องฉีดวัคซีนกระตุ้นเพิ่มเติมอีก ซึ่งสัตวแพทย์เองก็ไม่แนะนำให้ฉีดวัคซีนให้กับแม่สุนัขที่กำลังตั้งท้อง

ความแตกต่างหลักระหว่างสุนัขพันธุ์ใหญ่และสุนัขพันธุ์เล็กในช่วงตั้งท้องคือความต้องการทางโภชนาการ โดยสุนัขพันธุ์เล็กต้องการพลังงานมากกว่าสุนัขพันธุ์ใหญ่ เพื่อบำรุงลูกตัวน้อยในท้องและเพื่อให้มีน้ำนมเพียงพอต่อการเลี้ยงลูก ในช่วงสัปดาห์ที่ 3 แม่หมาตั้งท้องอาจต้องกินอาหารมากขึ้นถึง 3 เท่า เพื่อให้การผลิตน้ำนมเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพและเพื่อรักษาน้ำหนักตัวให้สมดุล ส่วนในช่วงใกล้คลอด แม่หมาต้องการสารอาหารและพลังงานมากกว่าน้องหมาทั่วไปถึง 15% - 25%

ทั้งนี้การเลือกสูตรอาหารให้แม่สุนัขตั้งท้องควรพิจารณาจากขนาดของสายพันธุ์ด้วย

 

ก่อนการตั้งท้อง: ควรวางแผนล่วงหน้า

หากคุณวางแผนจะเพิ่มจำนวนสมาชิกมะหมา ก่อนการผสมพันธุ์ควรประเมินสุขภาพร่างกายของว่าที่แม่สุนัขเป็นอันดับแรก เนื่องจากร่างกายของพวกเค้าจะมีความต้องการทางโภชนาการและการดูแลเปลี่ยนแปลงไป โดยสุนัขที่มีน้ำหนักไม่เป็นไปตามเกณฑ์มาตรฐาน มักมีความเสี่ยงต่อปัญหาสุขภาพ:

สุนัขที่มีน้ำหนักน้อยกว่าเกณฑ์มักมีปัญหาในการกินอาหารได้ไม่เพียงพอต่อความต้องการของร่างกายตัวเองและลูกน้อยในท้อง

สุนัขที่มีน้ำหนักเกินอาจประสบปัญหาคลอดยาก เนื่องจากลูกสุนัขมีขนาดตัวใหญ่เกินไป 

 

เจ้าของต้องมั่นใจว่าแม่สุนัขได้รับสารอาหารที่ครบถ้วนและสมดุลในปริมาณที่เหมาะสม สิ่งนี้จะช่วยให้ว่าที่แม่สุนัขมีน้ำหนักตัวเหมาะสมและมีร่างกายแข็งแรงพร้อมผสมพันธุ์ นอกจากนี้ยังช่วยให้การตั้งท้องไปจนถึงการคลอดและให้นมลูกเป็นไปอย่างราบรื่น

 

ช่วงตั้งท้อง: ควบคุมน้ำหนักให้สมดุล

ระยะเวลาตั้งท้องของสุนัขคือเก้าสัปดาห์ ในช่วงแรกสุนัขตั้งท้องจะมีน้ำหนักเพิ่มเพียงเล็กน้อย จนเมื่อเข้าสู่สัปดาห์ที่หก น้ำหนักจะเพิ่มอย่างรวดเร็ว และหลักจากนั้นก็จะเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ

 

สุนัขตั้งท้องจะต้องการพลังงานเพิ่มขึ้น โดยจะสะท้อนออกมาในรูปแบบของน้ำหนักตัวที่เพิ่มขึ้น ความต้องการจะเพิ่มมากขึ้นเมื่อเข้าสู่การตั้งท้องในสัปดาห์ที่ 6 โดยแม่สุนัขจะกินอาหารมากกว่าปกติประมาณ 25% - 50% ในช่วงใกล้คลอด

 

อาหารที่ดีที่สุดสำหรับแม่สุนัขที่กำลังตั้งท้องและต้องให้นมลูกคือ อาหารคุณภาพดี โภชนาการครบถ้วน และเหมาะสำหรับการเจริญเติบโตในทุกช่วงวัย แม้ว่าโดยทั่วไปจะแนะนำให้กินอาหารสูตรลูกสุนัข แต่อาหารสูตรสำหรับลูกสุนัขพันธุ์ใหญ่อาจไม่ค่อยเหมาะสม เนื่องจากร่างกายของแม่สุนัขมีการเปลี่ยนแปลง ทำให้ต้องการพลังงานและแร่ธาตุแตกต่างจากช่วงปกติ

 

อาหารชนิดไหนที่ควรหลีกเลี่ยงในระหว่างการดูแลสุนัขตั้งท้อง?

ควรหลีกเลี่ยงอาหารดิบหรืออาหารที่ไม่ปรุงสุก สามารถให้อาหารสูตรสำหรับสุนัขตั้งท้องหรือสูตรสำหรับลูกสุนัขตามการแนะนำของสัตวแพทย์ โดยไม่จำเป็นต้องให้อาหารเสริมหรือวิตามินเพิ่มเติม

อีกหนึ่งทางเลือกที่ดีสำหรับแม่หมาตั้งท้องคือการให้อาหารสุนัขไอแอมส์™ โปรแอคทีฟ เฮลท์™ สูตรแม่และลูกสุนัข เพราะมีส่วนช่วยในการเพิ่มน้ำนม เสริมสร้างพัฒนาการของลูกสุนัขตั้งแต่อยู่ในท้องแม่ และยังมีสารอาหารสำคัญอย่างดีเอชเอที่ช่วยในการทำงานของระบบสมองให้ลูกสุนัขมีการเรียนรู้ที่ดีขึ้นด้วย

 

ช่วงให้นมลูก: ดูแลให้แม่สุนัขได้รับสารอาหารที่เพียงพอ

แม้ว่าหลังคลอดแม่สุนัขจะมีน้ำหนักตัวลดลงแล้ว แต่พวกเค้ายังคงต้องการสารอาหารมากกว่าปกติ ซึ่งความต้องการนี้จะขึ้นอยู่กับจำนวนลูกสุนัขและการให้นม โดยแม่สุนัขอาจต้องการอาหารมากกว่าปกติ 2 - 3 เท่า เพื่อให้มีน้ำนมเพียงพอสำหรับลูกตัวน้อย นอกจากนี้ควรเช็กให้แน่ใจว่าแม่สุนัขได้รับน้ำในปริมาณที่เหมาะสม เพราะมันมีส่วนช่วยในการผลิตน้ำนมด้วยเช่นกัน

 

เพื่อให้แม่สุนัขที่อยู่ในช่วงให้นมลูกได้รับสารอาหารที่เพียงพอ คุณสามารถลองใช้เทคนิคเหล่านี้ได้:

<ul><li> เลือกให้อาหารที่มีคุณค่าทางอาหารครบถ้วน เช่น อาหารสูตรสำหรับลูกสุนัข

<ul><li> หลีกเลี่ยงการเพิ่มปริมาณอาหารในแต่ละมื้อ แต่ให้เพิ่มจำนวนมื้ออาหารตลอดวันแทน

<ul><li> แนะนำให้เทอาหารเม็ดทิ้งไว้ เพื่อให้แม่สุนัขเข้าถึงได้ตลอดทั้งวัน

 

ช่วงหย่านม: เปลี่ยนไปให้อาหารสูตรเดิมก่อนการตั้งท้อง

ในช่วง 4 - 5 สัปดาห์หลังคลอด ลูกสุนัขจะเริ่มให้ความสนใจในอาหารของแม่ เจ้าตัวน้อยจะกินอาหารอื่นมากขึ้นและดูดนมน้อยลง ซึ่งโดยส่วนใหญ่แล้วลูกสุนัขจะหย่านมเมื่ออายุประมาณ 7 - 8 สัปดาห์ ในเวลานี้ร่างกายของแม่สุนัขจะเปลี่ยนไปมีความต้องการพลังงานในระดับปกติ จึงกลับไปกินอาหารสูตรเดิมก่อนการตั้งท้องหรือสูตรทั่วไปได้แล้ว



dog

 

คำถามที่พบบ่อยเกี่ยวกับการดูแลสุนัขตั้งท้องและสุนัขให้นมลูก

 

สุนัขตั้งท้องควรกินอาหารแบบใด?

สุนัขตั้งท้องควรเปลี่ยนมากินอาหารที่ให้พลังงานสูง (ควรเปลี่ยนหลังตั้งท้องได้หนึ่งเดือน) อาหารควรมีปริมาณโปรตีน 22% และปริมาณแคลอรี่ที่ย่อยได้ประมาณ 1600 กิโลแคลอรี

 

สามารถให้อาหารแม่สุนัขระหว่างคลอดได้หรือไม่?

สุนัขที่อยู่ในระหว่างการคลอดลูก มักจะไม่ยอมกินอาหาร เนื่องจากกระบวนการคลอด ทำให้เหนื่อย อ่อนเพลีย ท้องไส้ปั่นป่วน มีอาการอาเจียน และรู้สึกไม่สบายตัว หากให้แม่สุนัขกินอาหารทันทีหลังคลอด พวกเค้าอาจมีอาการอาเจียนได้

 

หากไม่ได้อยู่ในช่วงติดสัด สุนัขสามารถตั้งท้องได้หรือไม่?

สุนัขจะมีโอกาสตั้งท้องสูงเมื่อได้รับการผสมพันธุ์ในช่วงติดสัด ซึ่งจะเกิดขึ้นปีละครั้งหรือสองครั้งขึ้นอยู่กับสายพันธุ์ สุนัขจะเข้าสู่ช่วงติดสัดเมื่อมีอายุประมาณ 6 เดือน โดยช่วงนี้จะกินเวลาประมาณ 3 สัปดาห์

 

แม่สุนัขจะมีอาการคิดถึงลูกหรือไม่?

แม่สุนัขก็อาจมีการคิดถึงลูกตัวน้อยได้ ดังนั้นควรวางแผนการแยกลูกสุนัขจากแม่ให้เรียบร้อยก่อนเริ่มผสมพันธุ์

 

สุนัขสามารถตั้งท้องในขณะที่ให้นมลูกได้หรือไม่?

หลังจากคลอดลูกแล้ว สุนัขสามารถตั้งท้องได้อีกแต่ก็จะขึ้นอยู่กับช่วงติดสัดด้วย ทางที่ดีจึงควรแยกสุนัขตัวผู้ออกห่างจากแม่สุนัขก่อน เพื่อป้องกันการผสมพันธุ์โดยไม่ตั้งใจ

  • ก่อนเปิดบ้านต้อนรับลูกสุนัขตัวใหม่ ต้องเตรียมอะไรบ้าง?
    ก่อนเปิดบ้านต้อนรับลูกสุนัขตัวใหม่ ต้องเตรียมอะไรบ้าง?
    adp_description_block415
    ก่อนเปิดบ้านต้อนรับลูกสุนัขตัวใหม่ ต้องเตรียมอะไรบ้าง?

    • แบ่งปัน

    ยินดีด้วย! หากคุณเพิ่งได้รับลูกสุนัขตัวใหม่ เรารู้ดีว่าการพาลูกสุนัขเข้าบ้านครั้งแรกเป็นช่วงเวลาแห่งความสนุกและตื่นเต้น แต่ในขณะเดียวกัน การเลี้ยงเจ้าตัวน้อยเหล่านี้ก็มักจะมาพร้อมความท้าทายและความรับผิดชอบใหม่ ๆ ซึ่งหน้าที่แรกของพ่อแม่มือใหม่คือการเตรียมสิ่งของที่จำเป็นให้พร้อม เจ้าตัวน้อยของคุณจะได้อยู่ในบ้านหลังใหม่อย่างมีความสุข
     

    โดยควรเตรียมอุปกรณ์ทั้งหมดไว้ล่วงหน้าเพื่อป้องกันความวุ่นวายที่อาจเกิดขึ้นหลังรับลูกสุนัขเข้าบ้านแล้ว ทั้งนี้พ่อแม่มือใหม่บางคนอาจรู้สึกกังวลเมื่อต้องเลือกซื้ออุปกรณ์ต่าง ๆ โดยเฉพาะสิ่งที่เกี่ยวข้องกับสุขภาพและความปลอดภัย เราจึงรวบรวมรายชื่อสิ่งของที่จำเป็น พร้อมด้วยเคล็ดลับดี ๆ อีกมากมายที่จะช่วยให้การต้อนรับลูกสุนัขตัวใหม่ของคุณง่ายยิ่งขึ้น
     

    วิธีอุ้มลูกสุนัขที่ถูกต้อง

    ความน่ารักน่ากอดของลูกสุนัขไม่ใช่เรื่องเล่น ๆ สิ่งนี้ทำให้ทุกคนอดรนทนไม่ไหว ต้องอุ้มพวกเค้าขึ้นมากอดมาคลอเคลียทุกครั้งที่พบเจอ อย่างไรก็ตาม ลูกสุนัขอยู่ในช่วงวัยกำลังพัฒนา หากอุ้มผิดวิธีอาจทำให้พวกเค้ารู้สึกไม่สบายตัวหรือถึงขั้นได้รับบาดเจ็บ จึงขอแนะนำให้ทำตามขั้นตอนต่อไปนี้

    1. ขั้นตอนที่ 1 – วางมือข้างหนึ่งไว้ใต้สะโพกของลูกสุนัข ส่วนอีกมือหนึ่งให้วางไว้ใต้หน้าอก
    2. ขั้นตอนที่ 2 – ยกลูกสุนัขขึ้นด้วยแขนทั้งสองข้าง คุณสามารถใช้เทคนิคนี้กับสุนัขตัวเล็กได้ แต่สำหรับสุนัขตัวใหญ่ ให้โอบแขนทั้งสองข้างรอบขา จากนั้นดึงไปที่หน้าอกแล้วค่อยยกขึ้น

    รวมสิ่งของที่จำเป็นสำหรับลูกสุนัข

    เช็กลิสต์สิ่งจำเป็นที่ควรเตรียมให้พร้อมก่อนพาเจ้าตัวน้อยกลับบ้าน มีดังนี้

    1. อาหารสุนัข – แนะนำให้เลือกสูตรอาหารสำหรับลูกสุนัขโดยเฉพาะ เนื่องจากพวกเค้าต้องการแคลเซียม ฟอสฟอรัส ไขมัน และโปรตีนปริมาณมาก ซึ่งทำให้อาหารสำหรับลูกสุนัขมีปริมาณแคลอรีสูงกว่าสูตรอื่น ๆ ทั้งนี้โภชนาการมีความสำคัญต่อการเจริญเติบโตและพัฒนาการที่ดี ผู้เลี้ยงจึงควรเลือกอาหารคุณภาพดี เหมาะกับขนาดและช่วงวัย อย่างอาหารสุนัขไอแอมส์™ ที่ผลิตจากวัตถุดิบเกรดพรีเมียม ย่อยง่าย ช่วยให้ร่างกายดูดซึมสารอาหารได้ดี มั่นใจได้เลยว่าเจ้าตัวน้อยของคุณจะได้รับสารอาหารอย่างครบถ้วนแม้ว่าจะกินในปริมาณน้อย
    2. ขนมสำหรับสุนัข – ขนมสำหรับสุนัขมักจะแบ่งเป็น 2 ชนิด คือขนมสูตรเฮลตี้ ดีต่อสุขภาพ เช่น ขนมขัดฟัน และขนมสำหรับใช้ฝึก
    3. เตียงนอน – น้องหมาควรได้ทิ้งตัวลงบนที่นอนนุ่ม ๆ หลังออกไปผจญภัยหรือวิ่งเล่นกันมาทั้งวัน โดยเตียงนอนที่ดีต้องเหมาะกับขนาดตัวของน้องหมา อาจเตรียมหมอนหนุนหรือผ้าห่มเพื่อเพิ่มความอบอุ่นให้พวกเค้าเพิ่มเติมได้
    4. ชามอาหารและชามน้ำ – เป็นอีกหนึ่งไอเทมสำคัญสำหรับน้องหมาทุกตัว โดยแนะนำให้เลือกจากขนาดและวิธีการกินของลูกสุนัข ไม่ควรใช้ชามใบเดียวกันทั้งสำหรับให้อาหารและให้น้ำ อาจเลือกใช้เป็นชามสเตนเลส เนื่องจากแข็งแรงทนทาน ทำความสะอาดง่าย และไม่ดูดซับกลิ่น
    5. กรงหรือกระเป๋าสำหรับสุนัข – ถือเป็นตัวช่วยที่ดีเมื่อต้องพาน้องหมาออกนอกบ้านหรือเดินทางไกล ทั้งกรงและกระเป๋ามีให้เลือกหลากหลายแบบ แต่ควรเลือกให้เหมาะกับขนาดและสายพันธุ์ของน้องหมา หรือหากต้องการพาน้องหมาขึ้นเครื่องบิน ก็ควรเลือกรูปแบบที่ได้รับการรับรองจากสายการบินนั้น ๆ เพราะจะทำให้เดินทางได้ง่ายขึ้น
    6. เสื้อผ้า – ในช่วงที่มีอากาศเย็นหรืออากาศชื้น ควรใส่เสื้อผ้าที่แห้งและสะอาดให้กับน้องหมา เพื่อเพิ่มความอบอุ่นและป้องกันไม่ให้เจ้าตัวน้อยของคุณเป็นหวัด ตรวจสอบให้แน่ใจด้วยว่าเนื้อผ้าไม่ทำให้เกิดอาการแพ้หรือระคายเคือง
    7. ปลอกคอและสายจูง – ขนาดของปลอกคอและสายจูงเป็นสิ่งสำคัญ น้องหมาต้องหายใจสะดวก ไม่อึดอัด และเคลื่อนไหวได้อย่างอิสระเมื่อสวมใส่ ควรเลือกปลอกคอที่ปรับขนาดได้และถอดออกง่าย เมื่อใส่แล้วควรมีพื้นที่ว่างระหว่างปลอกคอประมาณสองนิ้วมือ ส่วนสายจูงควรเลือกที่ทำจากเชือกไนลอนยาว 6 ฟุตหรือประมาณ 1.8 เมตร และควรมีความกว้างประมาณ ½ - ¾ นิ้ว
    8. ของเล่น – เพื่อความสุขและความสนุกของเจ้าตัวน้อย ผู้เลี้ยงควรเตรียมของเล่นหลาย ๆ ชนิดติดบ้านเอาไว้ เช่น ของเล่นสำหรับกัดแทะ ตุ๊กตานุ่มนิ่มสำหรับกอดนอน และของเล่นสำหรับฝึกทักษะ ของเล่นเหล่านี้จะช่วยให้พวกเค้ากระฉับกระเฉงและสดชื่น หลีกเลี่ยงการซื้อของเล่นขนาดเล็ก เพื่อป้องกันน้องหมากินหรือกลืนเข้าไปจนเกิดอันตราย
    9. ถุงเก็บมูลสัตว์ – เมื่อพาน้องหมาออกไปเดินเล่นในที่สาธารณะ เจ้าของควรเตรียมถุงเก็บมูลสัตว์เพื่อทำความสะอาดหลังน้องหมาขับถ่าย เพราะในหลายพื้นที่มีกฎและข้อกำหนดสำหรับเรื่องนี้ หากไม่ทำตามอาจถูกปรับและโดนตักเตือนได้
    10. อุปกรณ์สำหรับการกรูมมิ่ง – แชมพู แปรงและหวี กรรไกรตัดเล็บ ยาสีฟันและแปรงสีฟัน น้ำยาทำความสะอาดสำหรับสุนัข ทั้งหมดนี้คือสิ่งที่จำเป็นสำหรับการดูแลเจ้าตัวน้อยของคุณ
    11. ป้ายชื่อ – อย่าลืมสั่งทำป้ายชื่อน่ารัก ๆ ห้อยกับปลอกคอของเจ้าตัวน้อยกันด้วย ป้ายชื่อควรระบุชื่อของลูกสุนัข หมายเลขโทรศัพท์ของคุณ หรือหมายเลขโทรศัพท์คลินิกสัตว์ที่คุณไปประจำ
    12. รั้วหรือประตูกั้น – สิ่งสุดท้ายที่ควรมีคือรั้วหรือประตูกั้น สิ่งนี้ช่วยเพิ่มความปลอดภัยและป้องกันการรบกวนเมื่อคุณต้องการเวลาส่วนตัวหรือเมื่อมีเด็กเล่นในบ้านได้เป็นอย่างดี

    การเตรียมพร้อมเพื่อช่วยให้ลูกสุนัขปรับตัวได้ดียิ่งขึ้น

    ผู้เลี้ยงอาจต้องจัดเตรียมพื้นที่และสิ่งของบางอย่างเพิ่มเติมเพื่อช่วยให้ลูกสุนัขปรับตัวเข้ากับสภาพแวดล้อมใหม่ได้ดียิ่งขึ้น โดยคุณสามารถทำตามขั้นตอนเหล่านี้ได้

    1. ขั้นตอนที่ 1 – จัดเตรียมพื้นที่ขับถ่ายให้พร้อมและเริ่มฝึกพวกเค้าให้ขับถ่ายเป็นที่ตั้งแต่เนิ่น ๆ หากลูกสุนัขขับถ่ายในที่ที่ถูกต้อง ก็ควรให้ขนมเป็นรางวัล
    2. ขั้นตอนที่ 2 – วางกรงและเบาะนอนของลูกสุนัขไว้ในที่เฉพาะ เลือกพื้นที่ที่สงบและห่างจากความวุ่นวาย เพื่อให้พวกเค้าได้พักผ่อนอย่างเต็มที่โดยเฉพาะในช่วงวันแรก ๆ
    3. ขั้นตอนที่ 3 – ปล่อยให้เจ้าตัวน้อยได้สำรวจบ้านใหม่และทำความคุ้นเคยกับสภาพแวดล้อมรอบ ๆ บ้าน แต่ก่อนอื่นควรเก็บกวาดบ้านให้เรียบร้อย เก็บของมีคมหรือข้าวของอันตรายให้มิดชิด และอย่าปล่อยให้พื้นลื่น เพื่อป้องกันการเกิดอุบัติเหตุ
    4. ขั้นตอนที่ 4 – แนะนำทุกคนให้รู้จักกับลูกสุนัขตัวใหม่กันตั้งแต่วันแรก คุณอาจพบว่าลูกสุนัขจะตื่นเต้นมากและจะพยายามคลุกคลีกับทุกคนรอบตัว โดยสามารถชวนลูกสุนัขเล่นด้วยได้ แต่ต้องไม่บังคับหรือทำให้พวกเค้ารู้สึกเครียด หากพวกเค้าพยายามซ่อนตัว ก็ควรปล่อยให้ใช้เวลาตามลำพัง อาจลองให้ขนมหรือลูบตัวเบา ๆ เพื่อให้พวกเค้ารู้สึกผ่อนคลายมากยิ่งขึ้น

    การเลี้ยงลูกสุนัขตัวใหม่ให้อยู่ร่วมกับเด็กเล็ก

    ควรให้โอกาสลูก ๆ ของคุณมีส่วนร่วมในการรับเลี้ยงลูกสุนัขตัวใหม่ เพื่อให้เด็ก ๆ รู้สึกผูกพันกับสมาชิกใหม่ของครอบครัวมากขึ้น เมื่อได้ลูกสุนัขกลับบ้านแล้ว คุณสามารถปล่อยให้พวกเค้าเล่นด้วยกันได้ แต่ควรจำกัดเวลาการเล่นให้อยู่ในช่วง 15 – 30 นาที สองครั้งหรือสามครั้งต่อวัน เนื่องจากลูกสุนัขอยู่ในวัยที่ต้องการเวลาพักผ่อนมาก นอกจากนี้ช่วงเวลาที่เด็ก ๆ อยู่กับลูกสุนัข ควรมีคนคอยดูแลอย่างใกล้ชิดเพื่อความปลอดภัย
     

    การแนะนำลูกสุนัขตัวใหม่กับสัตว์เลี้ยงตัวอื่น

    ลูกสุนัขส่วนใหญ่มีนิสัยอยากรู้อยากเห็นและยังคงไร้เดียงสา จึงจำเป็นต้องดูแลเอาใจใส่อย่างใกล้ชิด โดยเฉพาะเมื่อต้องแนะนำให้พวกเค้ารู้จักกับสัตว์เลี้ยงตัวอื่นในบ้าน เพื่อป้องกันอุบัติเหตุและการปะทะ เริ่มด้วยการพาลูกสุนัขไปหาสุนัขที่โตกว่า ปล่อยให้พวกเค้าใช้เวลาร่วมกัน ไม่ต้องกังวลหากพวกเค้าจะดมหรือเลียกันเพราะเป็นการทักทายกันตามปกติ แต่หากฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งเริ่มกัดหรือเห่าใส่กัน ให้รีบเข้าไปแยกออก
     

    แม้ว่าการนำลูกสุนัขกลับบ้านจะเป็นช่วงเวลาที่สนุกสนาน แต่อย่าลืมเตรียมสิ่งของที่จำเป็นทั้งหมดให้พร้อม ไม่ว่าจะเป็นอาหาร อุปกรณ์ดูแลขน เตียงนอน และขนมแสนอร่อย นอกจากนี้คุณควรสร้างสภาพแวดล้อมในบ้านให้ปลอดภัยและมั่นคงเพื่อให้ลูกสุนัขเติบโตอย่างแข็งแรง