IAMS TH
nutrition-and-your-senior-dog-s-body_header
nutrition-and-your-senior-dog-s-body_mob

adp_description_block391
โภชนาการทางอาหารกับสุนัขสูงวัย

  • แบ่งปัน

เนื่องจากสุนัขสูงวัยเริ่มมีปัญหาด้านสภาพร่างกาย ไม่ว่าจะเป็นโรคอ้วน การสูญเสียมวลกล้ามเนื้อ ปัญหากระดูกและข้อต่อ ดังนั้นสัตวแพทย์จึงแนะนำอาหารสูตรสำหรับสุนัขสูงวัยโดยเฉพาะ เพื่อให้พวกเค้าได้รับสารอาหารที่เพียงพอต่อความต้องการ โดยเจ้าของที่มีสุนัขเข้าสู่ช่วงสูงวัยควรเรียนรู้การเปลี่ยนแปลงและวิธีการดูแลสุขภาพของพวกเค้าเหล่านั้นเพิ่มเติม

เรียนรู้เพิ่มเติมเกี่ยวกับวิธีที่คุณสามารถช่วยให้สุนัขสูงวัยของคุณจัดการกับปัญหาสุขภาพทั่วไปที่เกี่ยวข้องกับอายุที่มากขึ้นกันเถอะ
 

โรคอ้วนในสุนัขสูงวัย

สุนัขสูงวัยมักมีแนวโน้มที่จะน้ำหนักเพิ่มมากขึ้น ทั้ง ๆ ที่ทานอาหารในปริมาณเท่าเดิม โดยสาเหตุเกิดจากอัตราการเผาผลาญในร่างกายที่เปลี่ยนแปลงไป ดังนั้นพวกเค้าต้องได้รับปริมาณอาหารที่มีไขมันและแคลอรี่ลดลง

งานวิจัยล่าสุดของ ไอแอมส์™ได้ทำการศึกษาวิจัยแล้วพบว่า แอล - คาร์นิทีน สามารถช่วยลดน้ำหนักในสุนัขที่มีปัญหาน้ำหนักเกินได้ โดยการเป็นตัวพาไขมันเข้าไปสู่ไมโตรคอนเดรียภายในเซลล์ เพื่อเปลี่ยนไขมันให้เป็นพลังงาน
 

การสูญเสียมวลกล้ามเนื้อในสุนัขสูงวัย

โปรตีนเป็นสารอาหารที่มีส่วนสำคัญในการเสริมสร้างกล้ามเนื้อให้แข็งแรง โดยล่าสุดทางบริษัท IAMS ได้ออกมาเผยว่าการที่ให้สุนัขสูงวัยกินอาหารที่มีโปรตีนสูง จะช่วยเสริมสร้างสร้างกล้ามเนื้อให้แข็งแรงขึ้น ทำให้พวกเค้าสามารถเคลื่อนไหวทำกิจกรรมต่าง ๆ ได้อย่างดียิ่งขึ้น 

แต่ผลการวิจัยนี้ก็จะไม่ตรงกับความเชื่อที่ว่าสุนัขสูงวัยควรได้รับโปรตีนในระดับต่ำ เพื่อหลีกเลี่ยงไม่ให้ไตทำงานหนัก แต่อย่างไรก็ตามพบว่า สุนัขที่ไตทำงานหนักจากอาหารโปรตีนสูง มีอัตราการเสียชีวิตต่ำกว่าสุนัขที่ได้รับสารอาหารโปรตีนต่ำ
 

ปัญหากระดูกและข้อต่อในสุนัขสูงวัย

เมื่อสุนัขเข้าสู่ช่วงสูงวัย กระดูกและข้อต่อต่าง ๆ ก็เริ่มเสื่อมสภาพลง ดังนั้นการดูแลเรื่องโภชนาการก็สามารถช่วยเสริมสร้างให้พวกเค้ามีกระดูกและข้อต่อที่ดีขึ้นได้ โดยมีตัวช่วยดังนี้

• การได้รับวิตามินและแร่ธาตุที่เหมาะสม จะช่วยในการเสริมสร้างกระดูก และเส้นประสาทให้กลับมามีประสิทธิภาพ
• ปรับสมดุลในโภชนาการของกรดไขมันโอเมก้า 3 และโอเมก้า 6 ให้เหมาะสมต่อการเสริมสร้างข้อต่อ
 
ผู้ผลิตอาหารสำหรับสัตว์เลี้ยงบางรายเชื่อว่าหากสุนัขสูงวัยได้รับแคลเซียมและฟอสฟอรัสในปริมาณมาก จะทำให้มีอันตรายต่อไต แต่อย่างไรก็ตามมีการวิจัยพบว่า ไม่มีการสะสมของแคลเซียมและฟอสฟอรัสที่ทำให้เกิดอันตรายต่อไตของสุนัขสูงวัยที่ได้รับการบำรุงด้วยแคลเซียมและฟอสฟอรัสตลอดระยะเวลา 4 ปี (อ้างอิงโดยงานวิจัย “ผลกระทบของความชราและการบริโภคโปรตีนในอาหารของสุนัขสูงวัยที่ไม่ได้รับการผ่าตัด” ของ Finco, DR. ในวารสารวิจัยสัตวแพทย์แห่งอเมริกา ฉบับที่ 55)

* DR. Finco “ ผลของการความชราและการบริโภคโปรตีนในอาหารของสุนัขสูงอายุที่ไม่ได้รับการผ่าตัด” วารสารวิจัยสัตวแพทย์แห่งอเมริกา; ฉบับที่ 55, No. 9.  สิงหาคม 1994 .

article nutrition and your senior dogs body header
  • วิธีดูแลลูกสุนัขให้เติบโตอย่างแข็งแรงสมวัย
    วิธีดูแลลูกสุนัขให้เติบโตอย่างแข็งแรงสมวัย
    adp_description_block468
    วิธีดูแลลูกสุนัขให้เติบโตอย่างแข็งแรงสมวัย

    • แบ่งปัน

    หากคุณอยากมีเพื่อนเล่นแก้เหงาหรือเพื่อนแท้ที่คอยอยู่เคียงข้าง ขอแนะนำให้รับเลี้ยงลูกสุนัขไว้สักตัว แต่ต้องมั่นใจด้วยว่าคุณสามารถดูแลรับผิดชอบเจ้าตัวน้อยเหล่านี้ได้ เพราะลูกสุนัขต้องการความรักความเอาใจใส่เพื่อให้เติบโตอย่างมีความสุขและมีสุขภาพดี
     

    การดูแลลูกสุนัขไม่ใช่แค่การให้อาหาร มอบความรัก หรือชวนเล่นเป็นครั้งคราว คุณจะต้องทำความเข้าใจเกี่ยวกับโภชนาการที่เหมาะสม ฝึกพวกเค้าให้รู้จักขับถ่ายเป็นที่ รวมถึงต้องพาไปตรวจสุขภาพและฉีดวัคซีนป้องกันโรคต่าง ๆ ซึ่งกระบวนการดูแลทั้งหมดนี้จะช่วยให้คุณและเจ้าตัวน้อยมีความสัมพันธ์ที่แน่นแฟ้นกันมากขึ้น คุณจะได้เห็นความเปลี่ยนแปลงตลอดช่วงการเจริญเติบโตของพวกเค้า สำหรับผู้เลี้ยงที่ไม่มั่นใจหรือมีความกังวล ในบทความนี้จะบอกเคล็ดลับและวิธีดูแลลูกสุนัขในช่วง 2 – 3 เดือนแรกให้ทุกคนได้รู้กัน
     

    การนำลูกสุนัขกลับบ้าน

    มีอะไรบ้างที่เราควรรู้เกี่ยวกับการดูแลลูกสุนัข? มาเริ่มกันที่การรับลูกสุนัขเข้าบ้านวันแรก คุณควรจัดเตรียมพื้นที่ที่ปลอดภัย ตรวจสอบให้แน่ใจว่าไม่มีสิ่งใดที่เป็นอันตรายอยู่รอบ ๆ ตัวลูกสุนัข เช่น สารเคมี สายไฟ ต้นไม้ที่มีพิษ ของมีคม และข้าวของที่แตกหักง่าย เพราะลูกสุนัขก็เปรียบเหมือนทารกตัวน้อย ๆ พวกเค้าบอบบางแต่ก็มีนิสัยอยากรู้อยากเห็น นอกจากนี้คุณต้องซื้ออุปกรณ์ที่จำเป็นไว้ให้พร้อม อย่างเช่น ชามอาหาร ปลอกคอ สายจูง และเบาะนอนนุ่ม ๆ สำหรับพักผ่อน
     

    การให้อาหารลูกสุนัข

    หนึ่งในการดูแลที่สำคัญคือการเลือกโภชนาการที่เหมาะสม ควรเลือกสูตรอาหารสำหรับลูกสุนัขโดยเฉพาะ เนื่องจากพวกเค้ามีความต้องการแตกต่างจากสุนัขวัยอื่น อีกทั้งยังต้องการสารอาหารที่เหมาะสมเพื่อการเจริญเติบโตและพัฒนาการที่ดี 
     

    การเปลี่ยนมาให้อาหารสำหรับสุนัขโตจะขึ้นอยู่กับขนาดพันธุ์ สำหรับสุนัขพันธุ์เล็กหรือพันธุ์กลาง คุณสามารถเปลี่ยนสูตรอาหารได้เมื่อพวกเค้ามีอายุ 9 – 12 เดือน แต่หากเป็นสุนัขพันธุ์ใหญ่ ควรเปลี่ยนเมื่อมีอายุ 12 – 24 เดือน นอกจากการให้อาหารที่ดีและเหมาะสมแล้ว อย่าลืมเตรียมน้ำดื่มสะอาดไว้ให้พวกเค้าด้วย
     

    ตารางการให้อาหารสำหรับลูกสุนัข

    • 6 – 12 สัปดาห์ - 4 มื้อต่อวัน 
    • 3 – 6 เดือน - 3 มื้อต่อวัน
    • 6 – 12 เดือน - 2 มื้อต่อวัน

    ไอแอมส์™ มีผลิตภัณฑ์อาหารสำหรับลูกสุนัขและสุนัขโตให้เลือกหลากหลาย โดยผลิตภัณฑ์ของเราคัดสรรแต่วัตถุดิบคุณภาพระดับพรีเมียม นอกจากนี้ยังอุดมด้วยโปรตีน วิตามิน แร่ธาตุ และสารอาหารที่จำเป็นอื่น ๆ มั่นใจได้เลยว่าน้องหมาของคุณจะเพลิดเพลินกับอาหารทุกคำที่พวกเค้าลิ้มรส
     

    การพบสัตวแพทย์และการฉีดวัคซีน

    การไปพบสัตวแพทย์เป็นส่วนสำคัญที่สุดในการดูแลลูกสุนัข การเข้าพบครั้งแรกจะช่วยให้คุณรับรู้ข้อมูลสุขภาพโดยรวมของเจ้าตัวน้อย คุณหมอจะแจ้งตารางการฉีดวัคซีนและให้คำแนะนำเกี่ยวกับการดูแลเหล่านี้เพิ่มเติมด้วย

    • ตารางการฉีดวัคซีน
    • การทำหมัน
    • การฝึกขับถ่าย
    • การฝึกทำตามคำสั่งพื้นฐาน
    • การสังเกตอาการผิดปกติต่าง ๆ
    • โภชนาการที่เหมาะสม
    • การถ่ายพยาธิ

    การฝึกเข้าสังคมให้ลูกสุนัข

    ลูกสุนัขควรได้พบเจอกับผู้คน เพื่อนหมาตัวอื่น และเข้าไปอยู่ในสถานการณ์ที่หลากหลาย เพื่อสร้างความคุ้นเคยและเรียนรู้ที่จะปรับตัว โดยเวลาที่สำคัญที่สุดในการฝึกเข้าสังคมคือช่วงอายุระหว่าง 3 – 12 สัปดาห์ และแนะนำให้ฝึกอย่างต่อเนื่อง
     

    การฝึกขับถ่ายให้ลูกสุนัข

    คุณควรเริ่มฝึกขับถ่ายให้ลูกสุนัขตั้งแต่วันแรกที่พาเข้าบ้าน เพื่อปลูกฝังให้พวกเค้าขับถ่ายเป็นที่ ไม่ต้องคอยทำความสะอาดทุกครั้ง เริ่มต้นฝึกด้วยการเลือกพื้นที่ขับถ่ายนอกบ้าน จากนั้นพาลูกสุนัขไปที่ดังกล่าวเมื่อถึงเวลาขับถ่าย ให้รางวัลทันทีหลังจากพวกเค้าขับถ่ายเรียบร้อยแล้ว ทั้งนี้ควรหลีกเลี่ยงการทำโทษไม่ว่าในกรณีใดก็ตาม เพราะจะทำให้ลูกสุนัขหวาดกลัวและอาจแสดงท่าทีก้าวร้าว
     

    การฝึกที่ดีที่สุดคือการฝึกในเชิงบวก หรือก็คือการให้รางวัลเมื่อพวกเค้าทำได้ดีหรือทำตัวน่ารัก และควรกำหนดระยะเวลาการฝึกเป็นช่วงสั้น ๆ เพื่อไม่ให้ลูกสุนัขรู้สึกเบื่อหรือเหนื่อยจนเกินไป
     

    การดูแลสุขภาพช่องปากและฟัน

    น้องหมาก็มีปัญหาสุขภาพช่องปากและฟันเช่นเดียวกัน ทั้งการมีกลิ่นปาก ฟันหลุด และโรคปริทันต์ ซึ่งพวกเค้ามักจะไม่แสดงอาการเจ็บปวดให้เห็นอย่างชัดเจน ผู้เลี้ยงจึงควรดูแลช่องปากและฟันของพวกเค้าเป็นประจำ โดยควรเริ่มตั้งแต่อายุยังน้อยหรือเร็วที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ คุณสามารถปรึกษาสัตวแพทย์เกี่ยวกับการดูแลดีที่สุดสำหรับเจ้าตัวน้อยของคุณเพิ่มเติมได้
     

    การออกกำลังกายสำหรับลูกสุนัข

    แม้จะเป็นวัยที่เต็มไปด้วยพลัง แต่ผู้เลี้ยงควรควบคุมปริมาณและเวลาในการออกกำลังกายของลูกสุนัขให้เหมาะสม และปล่อยให้พวกเค้าได้พักผ่อนทุกครั้งที่ต้องการ หลีกเลี่ยงการให้เล่นเป็นเวลานาน ๆ เพียงครั้งเดียว แนะนำให้พาออกไปเดินเล่นระยะสั้น ๆ วันละสองครั้งแทน