IAMS TH
Common Questions about Feeding Your Dog
Common Questions about Feeding Your Dog

adp_description_block484
มารู้จักว่าสุนัขของคุณกินอะไร และ ให้อาหารสุนัขของคุณอย่างไร

  • แบ่งปัน

 

 

การเลือกอาหารที่มีสารอาหารครบถ้วนและสมดุลให้น้องหมาไม่ใช่เรื่องยากอย่างที่คุณคิด! มาหาคำตอบไปพร้อม ๆ กันว่า อะไรคืออาหารที่ใช่สำหรับน้องหมา ปริมาณอาหารที่จำเป็นในแต่ละวัน รวมไปถึงวิธีการให้ขนม และอาหารเสริมต่าง ๆ อย่างเหมาะสม

  1. เราควรเลือกอาหารให้น้องหมาอย่างไร?

เมื่อพูดถึงเรื่องการเลือกอาหารที่ใช่สำหรับน้องหมาแล้ว เราควรพิจารณาจาก 3 ปัจจัยดังต่อไปนี้

  • ช่วงวัยของน้องหมา
  • กิจวัตรประจำวัน (หรือการออกกำลังกาย)
  • เงื่อนไขด้านสุขภาพ (สุขภาพโดยรวมและน้ำหนักตัว)

 

  1. เราควรให้อาหารน้องหมากี่มื้อในหนึ่งวัน?

หากเป็นลูกสุนัขในวัยหย่านม (อายุ 3 – 6 สัปดาห์) ควรให้อาหารพวกเค้า 3 มื้อต่อวัน เมื่อมีอายุครบ 4 เดือน ให้ลดลงเหลือเพียง 2 มื้อต่อวัน ซึ่งเป็นจำนวนมื้ออาหารของน้องหมาส่วนใหญ่ แต่ก็มีน้องหมาบางส่วนที่สามารถกินอาหารเพียงวันละ 1 มื้อได้

 

  1. ปริมาณอาหารที่เหมาะสมสำหรับน้องหมาคือเท่าใด?

ปริมาณอาหารที่น้องหมาควรได้รับจะขึ้นอยู่กับอายุ ขนาดตัว และกิจวัตรประจำวันของพวกเค้า หรือจะเลือกให้อาหารตามตารางแนะนำที่ระบุไว้บนซองอาหารสุนัขทุกซองของไอแอมส์™ ก็ได้เช่นกัน ทั้งนี้สามารถปรับเปลี่ยนปริมาณอาหารตามความต้องการของน้องหมาได้ และอย่าลืมแบ่งสัดส่วนให้เหมาะสมหากคุณให้อาหารพวกเค้ามากกว่า 1 ครั้งต่อวัน

 

  1. ปริมาณอาหารที่เหมาะสมสำหรับลูกสุนัขตัวน้อยคือเท่าใด?

การกำหนดปริมาณอาหารที่เหมาะสมสำหรับลูกสุนัข จะพิจารณาจาก 3 ปัจจัยหลักดังนี้ สายพันธุ์ น้ำหนักตัว และช่วงวัย หรือเลือกให้อาหารตามตารางแนะนำดังต่อไปนี้

ลูกสุนัข

น้ำหนักตัว (กก.)

ปริมาณอาหารที่แนะนำต่อวัน

                                                <3 เดือน              3-6 เดือน            6-9 เดือน           9-12 เดือน             12-18 เดือน

พันธุ์ทอย

1-3

15-72

32-83

37-83

   
 

3-5

33-106

72-121

83-121

   
 

พันธุ์เล็ก 

(25-50)

5-8

48-151

106-172

111-172

111-170

เปลี่ยนมาให้อาหารสุนัขไอแอมส์™ โปรแอคทีฟ เฮลท์™สำหรับสุนัขโตเต็มวัย

 

8-10

69-178

151-204

170-204

170-201

 
 

พันธุ์กลาง

10-20

82-299

178-343

201-343

201-339

 
 

20-25

137-346

339-404

339-404

339-404

 
 

พันธุ์ใหญ่

25-40

136-492

346-575

404-575

396-575

396-563

 

40-50

191-509

493-675

575-681

563-681

553-676

 

อาหารปริมาณ 100 กรัม จะให้พลังงาน 390 กิโลแคลอรี่ นอกจากปริมาณอาหารที่ควรใส่ใจแล้ว อย่าลืมเตรียมน้ำดื่มสะอาดไว้ให้พวกเค้าด้วยนะ

  1. เราควรเปลี่ยนมาให้อาหารสำหรับสุนัขโตเต็มวัยเมื่อไหร่?

ไม่แนะนำให้เปลี่ยนอาหารอย่างกะทันหัน เพราะอาจส่งผลเสียต่อท้องน้อย ๆ ของลูกสุนัขได้ ควรให้เวลาพวกเค้าได้ปรับตัว และทำความคุ้นเคยกับอาหารใหม่กันก่อน สำหรับการกำหนดปริมาณอาหารที่เหมาะสม และวิธีการเปลี่ยนมาให้อาหารสำหรับสุนัขโตเต็มวัยอย่างถูกวิธี เจ้าของสามารถทำตามคำแนะนำดังต่อไปนี้

  • วันที่หนึ่ง – ผสมอาหารสูตรลูกสุนัข 75% เข้ากับอาหารสูตรสุนัขโต 25%
  • วันที่สอง – ผสมอาหารทั้งสองสูตรในปริมาณที่เท่ากัน หรือในสัดส่วน 50-50
  • วันที่สาม – เพิ่มปริมาณอาหารสูตรสุนัขโตเป็น 75% และลดปริมาณอาหารสูตรลูกสุนัขลงเหลือ 25%
  • วันที่สี่ – เปลี่ยนมาให้อาหารสูตรสุนัขโต 100%

ตารางน้ำหนักตัวและช่วงวัยที่แนะนำสำหรับการเปลี่ยนมาให้อาหารสูตรสุนัขโตเต็มวัย

ตารางน้ำหนัก

ช่วงวัยที่เริ่มเปลี่ยนสูตรอาหารได้

สุนัขพันธุ์เล็กที่มีน้ำหนัก < 20 ปอนด์ 

9 - 12 เดือน

สุนัขพันธุ์กลางที่มีน้ำหนัก 20 ถึง 50 ปอนด์

12 - 14 เดือน

สุนัขพันธุ์ใหญ๋ที่มีน้ำหนักมากกว่า 50 ปอนด์ขึ้นไป

12 - 24 เดือน

 

  1. เราควรเปลี่ยนมาให้อาหารสำหรับสุนัขสูงวัยเมื่อไหร่?

น้ำหนักตัวคือปัจจัยสำคัญที่ควรคำนึงถึงเมื่อต้องเปลี่ยนอาหารจากสูตรสุนัขโตเต็มวัยมาเป็นสูตรสุนัขสูงวัย เรามาดูตารางแนะนำที่จะช่วยให้การเปลี่ยนอาหารเป็นไปอย่างถูกต้องกันได้เลย

ตารางน้ำหนัก

ช่วงวัยที่เริ่มเปลี่ยนสูตรอาหารได้

น้ำหนักมากกว่า 90 ปอนด์ขึ้นไป

5 ปี

51 - 90 ปอนด์

6 ปี

21 - 50 ปอนด์

7 ปี

น้ำหนัก 20 ปอนด์ขึ้นไป

7 ปี

 

  1. วิธีใดดีที่สุดในการแนะนำอาหารสูตรใหม่ให้น้องหมา?

การปรับเปลี่ยนอย่างค่อยเป็นค่อยไปคือกุญแจสำคัญในการเปลี่ยนอาหารให้น้องหมา ช่วงแรกควรให้อาหารในอัตราส่วนต่อไปนี้ อาหารเก่า 75% อาหารใหม่ 25% และหลังจากนั้น 3 วัน ค่อย ๆ เพิ่มปริมาณอาหารใหม่ และลดปริมาณอาหารเก่าลง

 

  1. เราควรให้อาหารสุนัขที่มีน้ำหนักเกินอย่างไรจึงจะเหมาะสม?

หากน้องหมาของคุณมีปัญหาน้ำหนักเกิน แนะนำให้หลีกเลี่ยงอาหารที่มีปริมาณไขมันสูง และเพิ่มความถี่ในการออกกำลังกาย หรือเลือกอาหารสุนัขแบบเม็ดจากไอแอมส์™ ที่มีไขมันต่ำ สารอาหารครบถ้วน มีส่วนผสมของเส้นใยอาหารและพรีไบโอติก ซึ่งมีส่วนช่วยให้ระบบย่อยและขับถ่ายดี รวมถึงมี แอล – คาร์นิทีน ช่วยเสริมการทำงานของระบบเผาผลาญ นอกจากคุณภาพอาหารแล้ว ปริมาณอาหารก็เป็นอีกหนึ่งปัจจัยสำคัญสำหรับน้องหมาที่มีน้ำหนักเกิน ต้องมั่นใจว่าให้อาหารในปริมาณที่เหมาะสมต่อความต้องการของร่างกายในแต่ละวัน ไม่ลดน้อยจนทำให้ขาดสารอาหารอย่างโปรตีนและกรดไขมันที่จำเป็น

 

  1. เราควรให้อาหารแม่สุนัขที่กำลังตั้งท้องอย่างไร?

แม่สุนัขที่กำลังตั้งท้องต้องการสารอาหารแตกต่างจากสุนัขทั่วไป แนะนำให้เลือกอาหารสุนัขไอแอมส์™ โปรแอคทีฟ เฮลท์™ สำหรับแม่และลูกสุนัข ที่อุดมไปด้วยโปรตีนคุณภาพดี ช่วยให้คุณแม่สี่ขามีร่างกายแข็งแรงและมีน้ำนมที่ดีสำหรับลูกตัวน้อยที่กำลังจะลืมตาดูโลก

 

  1. จำเป็นต้องให้อาหารทั้งแบบเม็ดและแบบเปียกกับน้องหมาหรือไม่?

อาหารสุนัขแบบเปียกคือที่สุดของความอร่อยสำหรับเจ้าตัวน้อย จะให้เพียงอย่างเดียวหรือผสมกับอาหารเม็ดเพิ่มความฟินด้วยก็ได้ แนะนำให้ลองกันเลยสำหรับอาหารสุนัขแบบเปียกจากไอแอมส์™ ที่อัดแน่นไปด้วยสารอาหารครบถ้วนและสมดุล มาพร้อมรสชาติความอร่อยที่ถูกใจ ทั้งนี้ไม่จำเป็นต้องเสิร์ฟอาหารเปียกทุกมื้อ สามารถสลับกับการให้อาหารเม็ดจากไอแอมส์™ เป็นบางมื้อก็ได้ เพราะอาหารสุนัขของเรามีโปรตีนคุณภาพดีจากเนื้อไก่ เนื้อแกะ และเนื้อปลา อุดมไปด้วยสารอาหารที่จำเป็นต่อร่างกาย นอกจากนี้เม็ดอาหารยังมีเนื้อสัมผัสที่เหมาะกับการขัดฟัน ช่วยให้น้องหมามีสุขภาพเหงือกและฟันที่ดี รวมถึงช่วยลดการสะสมของคราบหินปูนได้อีกด้วย





 

  1. น้องหมาจะเบื่อหรือไม่ หากต้องกินอาหารเดิม ๆ เป็นประจำทุกวัน?

น้องหมาแตกต่างจากนิสัยของคน น้องหมามักไม่มีอาการเบื่ออาหาร หรือเบื่อที่ต้องกินอาหารเดิม ๆ โดยทั่วไปแล้วพวกเค้ากินอาหารเพื่อเพิ่มพลังงานและรับสารอาหารที่จำเป็นเข้าสู่ร่างกายเท่านั้น นอกจากนี้พวกเค้ายังมีระบบย่อยอาหารที่สั้นมาก การเปลี่ยนอาหารอย่างกะทันหันจึงส่งผลเสียกับท้องน้อย ๆ ของพวกเค้า และการเปลี่ยนอาหารบ่อย ๆ ยังส่งเสริมให้พวกเค้ามีนิสัยเลือกกินอีกด้วย

 

  1.  เราสามารถเติมน้ำลงในอาหารแบบเม็ดได้หรือไม่?

การเติมน้ำไม่ทำให้คุณค่าทางโภชนาการของอาหารเปลี่ยนแปลงไป แต่แนะนำให้น้องหมากินอาหารในทันที เพื่อป้องกันการเน่าเสีย ขอแนะนำอาหารเม็ดจากไอแอมส์™ ที่ทั้งเอร็ดอร่อยและมีส่วนช่วยให้น้องหมาของคุณมีสุขภาพช่องปากที่ดี ลองเลยวันนี้!

 

  1. น้องหมากินอาหารแมวได้หรือไม่?

น้องหมาและน้องแมวต้องการสารอาหารแตกต่างกัน ตัวอย่างเช่น น้องแมวต้องการกรดอะมิโนอย่างทอรีนสูงกว่าน้องหมา จึงไม่แนะนำให้กินอาหารชนิดเดียวกัน การกินอาหารแมวเป็นครั้งคราวอาจไม่เป็นอันตราย แต่ก็ไม่แนะนำให้น้องหมากินเป็นประจำ เพราะอาจส่งผลเสียกับร่างกายของพวกเค้าได้

 

  1. ในหนึ่งวัน เราสามารถให้ขนมบิสกิตกับน้องหมาได้มากน้อยเท่าใด?

ปริมาณที่แนะนำคือ 2-4 ชิ้นต่ออาหารหนึ่งถ้วยตวง ทั้งนี้การให้ขนมคือการเพิ่มปริมาณแคลอรี่ จึงควรปรับปริมาณอาหารให้เหมาะสมต่อความต้องการในแต่ละวัน รวมถึงควรเช็กปริมาณแคลอรี่ของขนมให้ดีก่อน เพราะขนมแต่ละชนิดมีขนาดและปริมาณแคลอรี่ที่แตกต่างกัน

 

  1. เราสามารถให้อาหารเสริมที่เป็นวิตามิน แร่ธาตุ หรือกรดไขมันนอกเหนือจากอาหารสุนัขได้หรือไม่?

อาหารสุนัขของไอแอมส์™ อุดมไปด้วยสารอาหารที่ครบถ้วนและสมดุล การเพิ่มอาหารเสริมเข้าไปอาจทำให้พวกเค้าได้รับสารอาหารเกินความจำเป็น การเลือกให้อาหารคุณภาพดี มีสารอาหารจำเป็นและเพียงพอต่อความต้องการของร่างกาย ก็สามารถช่วยให้เจ้าตัวน้อยของคุณมีสุขภาพร่างกายที่แข็งแรงได้แล้ว

 

  1. ทำไมน้องหมาจึงจำเป็นต้องได้รับโปรตีนในปริมาณที่เหมาะสม?

โปรตีนเป็นสารอาหารสำคัญและควรเป็นส่วนประกอบหลักในอาหารสุนัข เพราะมีส่วนช่วยในการเสริมสร้างกล้ามเนื้อและกระดูกให้แข็งแรง รวมถึงช่วยให้มีสุขภาพผิวหนังที่ดีและขนนุ่มเงางามอีกด้วย

 

  1. ทำไมจึงควรให้อาหารน้องหมาตรงเวลา?

ควรให้อาหารตรงเวลาทุกวันและฝึกให้กินแค่ในช่วงเวลานั้น เพื่อหลีกเลี่ยงนิสัยขอกินอาหารตลอดเวลา

 

  1. อาหารต้องห้ามที่ไม่ควรให้น้องหมากินมีอะไรบ้าง?

ไม่ควรให้น้องหมากินขนมอบ ลูกอม หมากฝรั่ง ช็อกโกแลต มะนาว หัวหอม และองุ่น ทั้งหมดนี้อาจเป็นอันตรายกับระบบย่อยอาหารของพวกเค้า และอาจเป็นสาเหตุให้เกิดการติดเชื้อได้

 

  1. ทำไมจึงควรเลือกอาหารสุนัข ไอแอมส์™ ให้กับน้องหมามากกว่าการให้อาหารปรุงเอง?

อาหารสุนัข ไอแอมส์™ มีสารอาหารที่จำเป็นต่อการเจริญเติบโตของน้องหมา นอกจากนี้ยังผลิตจากวัตถุดิบคุณภาพดี ไม่ว่าจะเป็นเนื้อไก่ เนื้อปลา กรดไขมัน บีทพัลพ์สูตรเฉพาะ ธัญพืชที่อุดมไปด้วยสารอาหาร และพรีไบโอติกจากธรรมชาติ

 

  1. ฉันจะเรียนรู้เกี่ยวกับโภชนาการของสัตว์เลี้ยงเพิ่มเติมผ่านช่องทางใดได้บ้าง?

หากต้องการเรียนรู้เพิ่มเติมเกี่ยวกับโภชนาการของสัตว์เลี้ยง สามารถติดต่อเราได้ที่นี่

  • ก่อนเปิดบ้านต้อนรับลูกสุนัขตัวใหม่ ต้องเตรียมอะไรบ้าง?
    ก่อนเปิดบ้านต้อนรับลูกสุนัขตัวใหม่ ต้องเตรียมอะไรบ้าง?
    adp_description_block83
    ก่อนเปิดบ้านต้อนรับลูกสุนัขตัวใหม่ ต้องเตรียมอะไรบ้าง?

    • แบ่งปัน

    ยินดีด้วย! หากคุณเพิ่งได้รับลูกสุนัขตัวใหม่ เรารู้ดีว่าการพาลูกสุนัขเข้าบ้านครั้งแรกเป็นช่วงเวลาแห่งความสนุกและตื่นเต้น แต่ในขณะเดียวกัน การเลี้ยงเจ้าตัวน้อยเหล่านี้ก็มักจะมาพร้อมความท้าทายและความรับผิดชอบใหม่ ๆ ซึ่งหน้าที่แรกของพ่อแม่มือใหม่คือการเตรียมสิ่งของที่จำเป็นให้พร้อม เจ้าตัวน้อยของคุณจะได้อยู่ในบ้านหลังใหม่อย่างมีความสุข
     

    โดยควรเตรียมอุปกรณ์ทั้งหมดไว้ล่วงหน้าเพื่อป้องกันความวุ่นวายที่อาจเกิดขึ้นหลังรับลูกสุนัขเข้าบ้านแล้ว ทั้งนี้พ่อแม่มือใหม่บางคนอาจรู้สึกกังวลเมื่อต้องเลือกซื้ออุปกรณ์ต่าง ๆ โดยเฉพาะสิ่งที่เกี่ยวข้องกับสุขภาพและความปลอดภัย เราจึงรวบรวมรายชื่อสิ่งของที่จำเป็น พร้อมด้วยเคล็ดลับดี ๆ อีกมากมายที่จะช่วยให้การต้อนรับลูกสุนัขตัวใหม่ของคุณง่ายยิ่งขึ้น
     

    วิธีอุ้มลูกสุนัขที่ถูกต้อง

    ความน่ารักน่ากอดของลูกสุนัขไม่ใช่เรื่องเล่น ๆ สิ่งนี้ทำให้ทุกคนอดรนทนไม่ไหว ต้องอุ้มพวกเค้าขึ้นมากอดมาคลอเคลียทุกครั้งที่พบเจอ อย่างไรก็ตาม ลูกสุนัขอยู่ในช่วงวัยกำลังพัฒนา หากอุ้มผิดวิธีอาจทำให้พวกเค้ารู้สึกไม่สบายตัวหรือถึงขั้นได้รับบาดเจ็บ จึงขอแนะนำให้ทำตามขั้นตอนต่อไปนี้

    1. ขั้นตอนที่ 1 – วางมือข้างหนึ่งไว้ใต้สะโพกของลูกสุนัข ส่วนอีกมือหนึ่งให้วางไว้ใต้หน้าอก
    2. ขั้นตอนที่ 2 – ยกลูกสุนัขขึ้นด้วยแขนทั้งสองข้าง คุณสามารถใช้เทคนิคนี้กับสุนัขตัวเล็กได้ แต่สำหรับสุนัขตัวใหญ่ ให้โอบแขนทั้งสองข้างรอบขา จากนั้นดึงไปที่หน้าอกแล้วค่อยยกขึ้น

    รวมสิ่งของที่จำเป็นสำหรับลูกสุนัข

    เช็กลิสต์สิ่งจำเป็นที่ควรเตรียมให้พร้อมก่อนพาเจ้าตัวน้อยกลับบ้าน มีดังนี้

    1. อาหารสุนัข – แนะนำให้เลือกสูตรอาหารสำหรับลูกสุนัขโดยเฉพาะ เนื่องจากพวกเค้าต้องการแคลเซียม ฟอสฟอรัส ไขมัน และโปรตีนปริมาณมาก ซึ่งทำให้อาหารสำหรับลูกสุนัขมีปริมาณแคลอรีสูงกว่าสูตรอื่น ๆ ทั้งนี้โภชนาการมีความสำคัญต่อการเจริญเติบโตและพัฒนาการที่ดี ผู้เลี้ยงจึงควรเลือกอาหารคุณภาพดี เหมาะกับขนาดและช่วงวัย อย่างอาหารสุนัขไอแอมส์™ ที่ผลิตจากวัตถุดิบเกรดพรีเมียม ย่อยง่าย ช่วยให้ร่างกายดูดซึมสารอาหารได้ดี มั่นใจได้เลยว่าเจ้าตัวน้อยของคุณจะได้รับสารอาหารอย่างครบถ้วนแม้ว่าจะกินในปริมาณน้อย
    2. ขนมสำหรับสุนัข – ขนมสำหรับสุนัขมักจะแบ่งเป็น 2 ชนิด คือขนมสูตรเฮลตี้ ดีต่อสุขภาพ เช่น ขนมขัดฟัน และขนมสำหรับใช้ฝึก
    3. เตียงนอน – น้องหมาควรได้ทิ้งตัวลงบนที่นอนนุ่ม ๆ หลังออกไปผจญภัยหรือวิ่งเล่นกันมาทั้งวัน โดยเตียงนอนที่ดีต้องเหมาะกับขนาดตัวของน้องหมา อาจเตรียมหมอนหนุนหรือผ้าห่มเพื่อเพิ่มความอบอุ่นให้พวกเค้าเพิ่มเติมได้
    4. ชามอาหารและชามน้ำ – เป็นอีกหนึ่งไอเทมสำคัญสำหรับน้องหมาทุกตัว โดยแนะนำให้เลือกจากขนาดและวิธีการกินของลูกสุนัข ไม่ควรใช้ชามใบเดียวกันทั้งสำหรับให้อาหารและให้น้ำ อาจเลือกใช้เป็นชามสเตนเลส เนื่องจากแข็งแรงทนทาน ทำความสะอาดง่าย และไม่ดูดซับกลิ่น
    5. กรงหรือกระเป๋าสำหรับสุนัข – ถือเป็นตัวช่วยที่ดีเมื่อต้องพาน้องหมาออกนอกบ้านหรือเดินทางไกล ทั้งกรงและกระเป๋ามีให้เลือกหลากหลายแบบ แต่ควรเลือกให้เหมาะกับขนาดและสายพันธุ์ของน้องหมา หรือหากต้องการพาน้องหมาขึ้นเครื่องบิน ก็ควรเลือกรูปแบบที่ได้รับการรับรองจากสายการบินนั้น ๆ เพราะจะทำให้เดินทางได้ง่ายขึ้น
    6. เสื้อผ้า – ในช่วงที่มีอากาศเย็นหรืออากาศชื้น ควรใส่เสื้อผ้าที่แห้งและสะอาดให้กับน้องหมา เพื่อเพิ่มความอบอุ่นและป้องกันไม่ให้เจ้าตัวน้อยของคุณเป็นหวัด ตรวจสอบให้แน่ใจด้วยว่าเนื้อผ้าไม่ทำให้เกิดอาการแพ้หรือระคายเคือง
    7. ปลอกคอและสายจูง – ขนาดของปลอกคอและสายจูงเป็นสิ่งสำคัญ น้องหมาต้องหายใจสะดวก ไม่อึดอัด และเคลื่อนไหวได้อย่างอิสระเมื่อสวมใส่ ควรเลือกปลอกคอที่ปรับขนาดได้และถอดออกง่าย เมื่อใส่แล้วควรมีพื้นที่ว่างระหว่างปลอกคอประมาณสองนิ้วมือ ส่วนสายจูงควรเลือกที่ทำจากเชือกไนลอนยาว 6 ฟุตหรือประมาณ 1.8 เมตร และควรมีความกว้างประมาณ ½ - ¾ นิ้ว
    8. ของเล่น – เพื่อความสุขและความสนุกของเจ้าตัวน้อย ผู้เลี้ยงควรเตรียมของเล่นหลาย ๆ ชนิดติดบ้านเอาไว้ เช่น ของเล่นสำหรับกัดแทะ ตุ๊กตานุ่มนิ่มสำหรับกอดนอน และของเล่นสำหรับฝึกทักษะ ของเล่นเหล่านี้จะช่วยให้พวกเค้ากระฉับกระเฉงและสดชื่น หลีกเลี่ยงการซื้อของเล่นขนาดเล็ก เพื่อป้องกันน้องหมากินหรือกลืนเข้าไปจนเกิดอันตราย
    9. ถุงเก็บมูลสัตว์ – เมื่อพาน้องหมาออกไปเดินเล่นในที่สาธารณะ เจ้าของควรเตรียมถุงเก็บมูลสัตว์เพื่อทำความสะอาดหลังน้องหมาขับถ่าย เพราะในหลายพื้นที่มีกฎและข้อกำหนดสำหรับเรื่องนี้ หากไม่ทำตามอาจถูกปรับและโดนตักเตือนได้
    10. อุปกรณ์สำหรับการกรูมมิ่ง – แชมพู แปรงและหวี กรรไกรตัดเล็บ ยาสีฟันและแปรงสีฟัน น้ำยาทำความสะอาดสำหรับสุนัข ทั้งหมดนี้คือสิ่งที่จำเป็นสำหรับการดูแลเจ้าตัวน้อยของคุณ
    11. ป้ายชื่อ – อย่าลืมสั่งทำป้ายชื่อน่ารัก ๆ ห้อยกับปลอกคอของเจ้าตัวน้อยกันด้วย ป้ายชื่อควรระบุชื่อของลูกสุนัข หมายเลขโทรศัพท์ของคุณ หรือหมายเลขโทรศัพท์คลินิกสัตว์ที่คุณไปประจำ
    12. รั้วหรือประตูกั้น – สิ่งสุดท้ายที่ควรมีคือรั้วหรือประตูกั้น สิ่งนี้ช่วยเพิ่มความปลอดภัยและป้องกันการรบกวนเมื่อคุณต้องการเวลาส่วนตัวหรือเมื่อมีเด็กเล่นในบ้านได้เป็นอย่างดี

    การเตรียมพร้อมเพื่อช่วยให้ลูกสุนัขปรับตัวได้ดียิ่งขึ้น

    ผู้เลี้ยงอาจต้องจัดเตรียมพื้นที่และสิ่งของบางอย่างเพิ่มเติมเพื่อช่วยให้ลูกสุนัขปรับตัวเข้ากับสภาพแวดล้อมใหม่ได้ดียิ่งขึ้น โดยคุณสามารถทำตามขั้นตอนเหล่านี้ได้

    1. ขั้นตอนที่ 1 – จัดเตรียมพื้นที่ขับถ่ายให้พร้อมและเริ่มฝึกพวกเค้าให้ขับถ่ายเป็นที่ตั้งแต่เนิ่น ๆ หากลูกสุนัขขับถ่ายในที่ที่ถูกต้อง ก็ควรให้ขนมเป็นรางวัล
    2. ขั้นตอนที่ 2 – วางกรงและเบาะนอนของลูกสุนัขไว้ในที่เฉพาะ เลือกพื้นที่ที่สงบและห่างจากความวุ่นวาย เพื่อให้พวกเค้าได้พักผ่อนอย่างเต็มที่โดยเฉพาะในช่วงวันแรก ๆ
    3. ขั้นตอนที่ 3 – ปล่อยให้เจ้าตัวน้อยได้สำรวจบ้านใหม่และทำความคุ้นเคยกับสภาพแวดล้อมรอบ ๆ บ้าน แต่ก่อนอื่นควรเก็บกวาดบ้านให้เรียบร้อย เก็บของมีคมหรือข้าวของอันตรายให้มิดชิด และอย่าปล่อยให้พื้นลื่น เพื่อป้องกันการเกิดอุบัติเหตุ
    4. ขั้นตอนที่ 4 – แนะนำทุกคนให้รู้จักกับลูกสุนัขตัวใหม่กันตั้งแต่วันแรก คุณอาจพบว่าลูกสุนัขจะตื่นเต้นมากและจะพยายามคลุกคลีกับทุกคนรอบตัว โดยสามารถชวนลูกสุนัขเล่นด้วยได้ แต่ต้องไม่บังคับหรือทำให้พวกเค้ารู้สึกเครียด หากพวกเค้าพยายามซ่อนตัว ก็ควรปล่อยให้ใช้เวลาตามลำพัง อาจลองให้ขนมหรือลูบตัวเบา ๆ เพื่อให้พวกเค้ารู้สึกผ่อนคลายมากยิ่งขึ้น

    การเลี้ยงลูกสุนัขตัวใหม่ให้อยู่ร่วมกับเด็กเล็ก

    ควรให้โอกาสลูก ๆ ของคุณมีส่วนร่วมในการรับเลี้ยงลูกสุนัขตัวใหม่ เพื่อให้เด็ก ๆ รู้สึกผูกพันกับสมาชิกใหม่ของครอบครัวมากขึ้น เมื่อได้ลูกสุนัขกลับบ้านแล้ว คุณสามารถปล่อยให้พวกเค้าเล่นด้วยกันได้ แต่ควรจำกัดเวลาการเล่นให้อยู่ในช่วง 15 – 30 นาที สองครั้งหรือสามครั้งต่อวัน เนื่องจากลูกสุนัขอยู่ในวัยที่ต้องการเวลาพักผ่อนมาก นอกจากนี้ช่วงเวลาที่เด็ก ๆ อยู่กับลูกสุนัข ควรมีคนคอยดูแลอย่างใกล้ชิดเพื่อความปลอดภัย
     

    การแนะนำลูกสุนัขตัวใหม่กับสัตว์เลี้ยงตัวอื่น

    ลูกสุนัขส่วนใหญ่มีนิสัยอยากรู้อยากเห็นและยังคงไร้เดียงสา จึงจำเป็นต้องดูแลเอาใจใส่อย่างใกล้ชิด โดยเฉพาะเมื่อต้องแนะนำให้พวกเค้ารู้จักกับสัตว์เลี้ยงตัวอื่นในบ้าน เพื่อป้องกันอุบัติเหตุและการปะทะ เริ่มด้วยการพาลูกสุนัขไปหาสุนัขที่โตกว่า ปล่อยให้พวกเค้าใช้เวลาร่วมกัน ไม่ต้องกังวลหากพวกเค้าจะดมหรือเลียกันเพราะเป็นการทักทายกันตามปกติ แต่หากฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งเริ่มกัดหรือเห่าใส่กัน ให้รีบเข้าไปแยกออก
     

    แม้ว่าการนำลูกสุนัขกลับบ้านจะเป็นช่วงเวลาที่สนุกสนาน แต่อย่าลืมเตรียมสิ่งของที่จำเป็นทั้งหมดให้พร้อม ไม่ว่าจะเป็นอาหาร อุปกรณ์ดูแลขน เตียงนอน และขนมแสนอร่อย นอกจากนี้คุณควรสร้างสภาพแวดล้อมในบ้านให้ปลอดภัยและมั่นคงเพื่อให้ลูกสุนัขเติบโตอย่างแข็งแรง